แน่นอนว่าใครก็ตามที่่นับถือศาสนาพุทธ มากกว่าแค่พิมพ์ไว้ในทะเบียนบ้าน
ย่อมต้องเคยใส่บาตรตอนเช้ากันทั้งนั้น และแน่นอนว่า บุรุษใดก็ตามบนโลกน
ที่นับถือพุทธศาสนา และได้บวชเป็นบรรพชิต การบิณฑบาตร ถือเป็นวัตร
ที่ต้องปฏิบัติทุกวันหากไม่มีเหตุอันจำเป็นให้ต้องงดเว้น (เช่นเป็นวัดอยู่สามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ช่วงไหนพวกโจรออกมา เฮดช็อต บ่อย ๆ อาจจะงดบิณฑบาตร
เป็นชั่วคราวได้ แต่ต้องเป็นมติของสงฆ์ที่อยู่ในวัดทั้งหมดนะครับ)
*******************************************
โดยหลักการ การทำบุญ ไม่ใช่เฉพาะใส่บาตรอาหารพระเท่านั้น มีองค์ประกอบ
ที่ต้องคิดถึงอยู่ 3เรื่อง หนึ่งคือวัตถุดี หนึ่งคือเจตนาของผู้ทำบุญดี และสุดท้ายคือ
ผู้รับเป็นบุคคลที่ดี
ข้อแรกวัตถุดี ก็คือสิ่งที่ใช้ทำทานเป็นวัตถุที่มาจาี่กปัจจัยตั้งต้นดี ดีที่ว่าคือ
ไม่ได้เป็นผลจากเหตุที่ชั่ว ไม่ได้ปล้นใครมา ไม่ได้เป็นวัตถุต้องห้ามอันพึงงดเว้น
ยกตัวอย่างทำบุญอาหารก็คือ เป็นอาหารที่ประกอบขึ้นเพื่อการบริโภค ใช้วัตถ
ุที่กินทั่วไป ไม่ต้องอลังการแบบดีงู จู๋ช้าง แค่ธรรมดา ไม่เลว ก็ถือว่าดีแล้วครับ
จริงๆ แล้วถ้าพระรู้ว่าอาหารนั้นฆ่าสัตว์มาเพื่อทำบุญโดยเฉพาะ ท่านจะไม่ฉันอาหารนั้น
เพราะพระธรรมวินัยระบุว่า การฆ่าสิ่งมีชีวิตเพื่อการทำบุญโดยเฉพาะ ถือเป็นเรื่อง
ไม่สมควร ใส่บาตรก็ใส่อาหารที่กินกันธรรมดาเถอะครับ พระไม่ติหรอก
ส่วนคนทำบุญดี นั่นคือตั้งใจทำบุญเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์ใจ
ไม่ใช่ทำหวังเอาบุญขึ้นสวรรค์ ไม่ใช่ทำเพื่อผลประโยชน์วันข้างหน้า
การใส่บาตร เจตนาคือการช่วยเหลือให้พระสงฆ์มีอาหารกิน เพื่อยังชีวิตอยู่ปฏิบัติธรรม
และสั่งสอนคนอื่นให้รู้ถึงรสพระธรรม เรื่องบุญเป็นอานิสงค์อันเกิดจากการทำดี
ของเราอยู่แล้ว ไม่ต้องมองข้ามช็อตไกลนักก็ได้ครับ
ให้แก่ผู้ปฏิบัติดี ข้อนี้สิยากสุด เพราะปัจจัยขึ้นผู้รับ ถ้าให้อาหารกับพระปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ อานิสงค์นั้นย่อมเกิดกับเราเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถ้าเลี้ยงคนชั่วให้ออกไป
ทำบาปกรรม นั่นก็เท่ากับเราได้ทำบาปไปด้วยนะครับ
**********************************************
ในเวลาไม่กี่วันที่เข้าไปใช้ชีวิตเป็นบรรพชิต สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในแต่ละวัน
คือการออกไปบิณฑบาตรตอนเช้านี่แหละครับ
เรื่องน่าตื่นเต้นไม่ใช่แค่ลุ้นว่าวันไหนจะมีคนใส่บาตรมากน้อย เพราะจะมากจะน้อย
พระรูปนึง ก็ขนของกลับวันกันขี้ริ้วขี้เหร่คนละร่วม 5-6 กิโลอยู่แล้ว (นี่วัดจากพระท้ายแถว
นั่นคือพระบวชใหม่นะครับ) แต่ที่น่าตื่นเต้นคือ ในแต่ละวันจะมีคนเอาของมาใส่บาตร
กันหลากหลายชนิดที่เรียกว่า สุดแต่เจ้าตัวจะจินตนาการได้เลยตะหาก
บางคนมีความเชื่อเรื่องใส่บาตรประเภทที่ว่า ใส่เอาไว้ให้ตัวเองกินตอนตาย เพราะเคยอ่าน
หรือได้ยิน เรื่องคนที่ตายแล้วฟื้นกลับมาเล่าเป็นตุเป็นตะว่า ของที่เคยใส่ไปนะ ตอนอยู่ในนรก
มันมาตามนั้นเลย... ฮัดช่า! คุณลุงคุณป้าเลยใส่มาเต็มเหนี่ยวอย่างที่ว่าเลยครับ ข้าวร้อนๆ
ใส่มาเต็มทัพพี แกงใส่มาเป็นถุงแบบที่ขายตามตลาด บางคนตายแล้วกลัวไม่มีโจ๊กกิน
ก็เลยใส่โจ๊กเข้าบาตรแบบถุงเบ้อเร่อ เรียกว่าเล่นเอาพระใหม่พะรุงพะรังเอาเรื่อง
ดีที่มีเด็กวัดมาคอยรับของในบาตรไว้ ไม่งั้นพระเดินแค่สองสามเมตรก็ได้กลับหอฉันแล้ว
เพราะเต็มบาตรหมด นี่ยังไม่รวมประเภทน้ำเป็นขวด บางคนกลัวนรกมันร้อนมากมั้ง
ใส่เป๊บซี่ลิตรให้พระมาด้วย ป๊ากเดียวบาตรแทบคว่ำ
ข้างบนว่ากวนแล้ว แต่บางครั้งมีกวนกว่า ที่เจอกับตัวเองคือ ใส่บาตรด้วยน้ำปลาเป็นขวด
กระเทียม- พริกแห้งเป็นถุง เข้าใจว่าพระทำกับข้าวเองได้มั้งครับ หลวงพี่ที่บวชมาก่อน
เ่ล่าให้ฟังว่าสมัยบวชเณร จำวัดอยู่ที่พิษณุโลก มีญาติโยมอยากให้พระฉันส้มตำครับ
เพราะตัวเองมีพื้นเป็นคนอีสาน เห็นเณรมาจากอุดรเลย เลยใส่บาตรเป็นมะละกอดิบเป็นลูกๆ
มะเขือ กระเทียม พริกแห้ง เป็นถุง พร้อมสำทับว่า "ที่วัดคงมีครกหละเนาะ เอาไปเฮ็ดเองเด้อ"
ฮ่วย!!!...
แต่ท้ายสุด คงไม่มีใครเก๋เท่าวัยรุ่นไทยยุคเพลงอีโมฯ (มันคือเพลงแบบไหนวะ เข้าใจว่า
เป็นเพลงร้องยานๆ แบบพี่แบ๊งก์วงแคลช นั่นอะ) ที่สรรหาวิธีการมาใส่บาตรได้จ๊าบ
กระชากใจจริงๆ
พวกน้องๆ เค้าใส่บาตรด้วยน้ำมันเครื่ิองครับ!
วิธีการคือพอพระบิณฑบาตร เดินออกมานอกประตูวัด พวกน้องเค้าก็รออยู่ตรงทางแยกหน้าวัด
พอพระ-เณร เดินมาใกล้ๆ เขาก็ "แบ๊นๆๆๆๆๆๆ แหบนนนนนนนนนนนนนนนนน" เบิ้ลเครื่องระรัว
ปลดปล่อยไอเสียออกมา ก่อนกระชากตัวซิ่งหายลับสายตาขบวนบุญของบรรพชิตทั้งหลายไป ด้วยความที่เป็นพระไม่สามารถด่าแช่งใครได้ ถึงจะเจอเรื่องทุเรศเหลืออดแบบนี้ สิ่งที่พระทำได้คือ
"จำเริญๆ เด้อโยม"
ใช่ครับ เจริญพรไล่หลังน้องๆ อีโมฯ พวกนั้นไป
แต่ปกติเด็กพวกนี้ ไม่ได้มา แบ๊นๆ กันทุกวันหรอกครับ มันมีเหตุอยู่นิดนึงคือ พอขากลับเข้าวัด
ก็มีคันหลังสุดมารอส่งท้าย เณรที่บวชมาก่อนผมวันนึง ก็เดินเร่งมากระซิบข้างๆ ผมว่า "ครูบา
ไอ้พวกนั้นมันเป็นเพื่อนเณรเองหละ" ...แหม่เณร ดีนะมันไม่ไปเบิ้ลใส่บาตรกันหน้าหอฉันเลย
- -"
สาธุ...
***********************************************
ก่อนจากขอแนะนำวิธีการใ่สบาตรแบบคนที่ผ่านวัดวามาหน่อยแล้วกันครับ
- ใส่แค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ครับ อย่าง ข้าว กับข้าว น้ำดื่ม ขนมหวาน อย่างเดียวก็ได้
ไม่ผิดกฏ จำนวนไม่ต้องมากครับ คนละครึ่งทัพพี สี่สิบคนก็ยี่สิบทัพพีแล้วครับ ไอ้ประเภท
มาแบบคอมโบเซ็ทชุดประหยัดเนี่ย สงสารเด็กวัดบ้างก็ดีครับ หิ้วกันพะรุงพะรัง
เป็นลิงกินโต๊ะจีนเลย
- ของบางอย่างเราควรเปลี่ยนสภาพมันไม่ให้เหมือนรูปเดิมครับ เช่นไข่ ถ้าจะใส่บาตร
เป็นไข่ต้ม ควรแกะเปลือกออกให้เห็นเนื้อใน ผ่าให้รู้ว่าไข่สุกแล้วยิ่งดีครับ
ผลไม้ต้องทำให้มันเจริญเติบโตต่อไปไม่ได้อีก เช่น ควักเมล็ดออก หรือแทงเมล็ด
ให้แตก ของบางอย่างเช่นกล้วย ให้เฉือนปลายหัวท้ายออกก่อนใส่บาตร
เพราะพระฉันสิ่งที่ยังเจริญเติบโตต่อไป เช่น ลูกไม้ทั้งลูก เมล็ดพืชไม่กระเทาะเปลือก
ไม่ได้ครับ
- อ้อที่สำคัญ วัดมีโรงครัวเป็นโรงทานครับ ไม่ใช่โรงครัวทำกับข้าวให้พระฉัน
ของดิบอย่างที่เล่าไว้ข้างต้นไม่ต้องใส่มานะครับ พระทำกินเองไม่ได้ - -"
คราวนี้ มาเล่าเรื่องเครื่องแต่งกาย ที่กว่าจะแต่งเป็น เล่นเอาพระใหม่แทบอยากสึกครับ...
ย่อมต้องเคยใส่บาตรตอนเช้ากันทั้งนั้น และแน่นอนว่า บุรุษใดก็ตามบนโลกน
ที่นับถือพุทธศาสนา และได้บวชเป็นบรรพชิต การบิณฑบาตร ถือเป็นวัตร
ที่ต้องปฏิบัติทุกวันหากไม่มีเหตุอันจำเป็นให้ต้องงดเว้น (เช่นเป็นวัดอยู่สามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ช่วงไหนพวกโจรออกมา เฮดช็อต บ่อย ๆ อาจจะงดบิณฑบาตร
เป็นชั่วคราวได้ แต่ต้องเป็นมติของสงฆ์ที่อยู่ในวัดทั้งหมดนะครับ)
*******************************************
โดยหลักการ การทำบุญ ไม่ใช่เฉพาะใส่บาตรอาหารพระเท่านั้น มีองค์ประกอบ
ที่ต้องคิดถึงอยู่ 3เรื่อง หนึ่งคือวัตถุดี หนึ่งคือเจตนาของผู้ทำบุญดี และสุดท้ายคือ
ผู้รับเป็นบุคคลที่ดี
ข้อแรกวัตถุดี ก็คือสิ่งที่ใช้ทำทานเป็นวัตถุที่มาจาี่กปัจจัยตั้งต้นดี ดีที่ว่าคือ
ไม่ได้เป็นผลจากเหตุที่ชั่ว ไม่ได้ปล้นใครมา ไม่ได้เป็นวัตถุต้องห้ามอันพึงงดเว้น
ยกตัวอย่างทำบุญอาหารก็คือ เป็นอาหารที่ประกอบขึ้นเพื่อการบริโภค ใช้วัตถ
ุที่กินทั่วไป ไม่ต้องอลังการแบบดีงู จู๋ช้าง แค่ธรรมดา ไม่เลว ก็ถือว่าดีแล้วครับ
จริงๆ แล้วถ้าพระรู้ว่าอาหารนั้นฆ่าสัตว์มาเพื่อทำบุญโดยเฉพาะ ท่านจะไม่ฉันอาหารนั้น
เพราะพระธรรมวินัยระบุว่า การฆ่าสิ่งมีชีวิตเพื่อการทำบุญโดยเฉพาะ ถือเป็นเรื่อง
ไม่สมควร ใส่บาตรก็ใส่อาหารที่กินกันธรรมดาเถอะครับ พระไม่ติหรอก
ส่วนคนทำบุญดี นั่นคือตั้งใจทำบุญเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์ใจ
ไม่ใช่ทำหวังเอาบุญขึ้นสวรรค์ ไม่ใช่ทำเพื่อผลประโยชน์วันข้างหน้า
การใส่บาตร เจตนาคือการช่วยเหลือให้พระสงฆ์มีอาหารกิน เพื่อยังชีวิตอยู่ปฏิบัติธรรม
และสั่งสอนคนอื่นให้รู้ถึงรสพระธรรม เรื่องบุญเป็นอานิสงค์อันเกิดจากการทำดี
ของเราอยู่แล้ว ไม่ต้องมองข้ามช็อตไกลนักก็ได้ครับ
ให้แก่ผู้ปฏิบัติดี ข้อนี้สิยากสุด เพราะปัจจัยขึ้นผู้รับ ถ้าให้อาหารกับพระปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ อานิสงค์นั้นย่อมเกิดกับเราเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถ้าเลี้ยงคนชั่วให้ออกไป
ทำบาปกรรม นั่นก็เท่ากับเราได้ทำบาปไปด้วยนะครับ
**********************************************
ในเวลาไม่กี่วันที่เข้าไปใช้ชีวิตเป็นบรรพชิต สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในแต่ละวัน
คือการออกไปบิณฑบาตรตอนเช้านี่แหละครับ
เรื่องน่าตื่นเต้นไม่ใช่แค่ลุ้นว่าวันไหนจะมีคนใส่บาตรมากน้อย เพราะจะมากจะน้อย
พระรูปนึง ก็ขนของกลับวันกันขี้ริ้วขี้เหร่คนละร่วม 5-6 กิโลอยู่แล้ว (นี่วัดจากพระท้ายแถว
นั่นคือพระบวชใหม่นะครับ) แต่ที่น่าตื่นเต้นคือ ในแต่ละวันจะมีคนเอาของมาใส่บาตร
กันหลากหลายชนิดที่เรียกว่า สุดแต่เจ้าตัวจะจินตนาการได้เลยตะหาก
บางคนมีความเชื่อเรื่องใส่บาตรประเภทที่ว่า ใส่เอาไว้ให้ตัวเองกินตอนตาย เพราะเคยอ่าน
หรือได้ยิน เรื่องคนที่ตายแล้วฟื้นกลับมาเล่าเป็นตุเป็นตะว่า ของที่เคยใส่ไปนะ ตอนอยู่ในนรก
มันมาตามนั้นเลย... ฮัดช่า! คุณลุงคุณป้าเลยใส่มาเต็มเหนี่ยวอย่างที่ว่าเลยครับ ข้าวร้อนๆ
ใส่มาเต็มทัพพี แกงใส่มาเป็นถุงแบบที่ขายตามตลาด บางคนตายแล้วกลัวไม่มีโจ๊กกิน
ก็เลยใส่โจ๊กเข้าบาตรแบบถุงเบ้อเร่อ เรียกว่าเล่นเอาพระใหม่พะรุงพะรังเอาเรื่อง
ดีที่มีเด็กวัดมาคอยรับของในบาตรไว้ ไม่งั้นพระเดินแค่สองสามเมตรก็ได้กลับหอฉันแล้ว
เพราะเต็มบาตรหมด นี่ยังไม่รวมประเภทน้ำเป็นขวด บางคนกลัวนรกมันร้อนมากมั้ง
ใส่เป๊บซี่ลิตรให้พระมาด้วย ป๊ากเดียวบาตรแทบคว่ำ
ข้างบนว่ากวนแล้ว แต่บางครั้งมีกวนกว่า ที่เจอกับตัวเองคือ ใส่บาตรด้วยน้ำปลาเป็นขวด
กระเทียม- พริกแห้งเป็นถุง เข้าใจว่าพระทำกับข้าวเองได้มั้งครับ หลวงพี่ที่บวชมาก่อน
เ่ล่าให้ฟังว่าสมัยบวชเณร จำวัดอยู่ที่พิษณุโลก มีญาติโยมอยากให้พระฉันส้มตำครับ
เพราะตัวเองมีพื้นเป็นคนอีสาน เห็นเณรมาจากอุดรเลย เลยใส่บาตรเป็นมะละกอดิบเป็นลูกๆ
มะเขือ กระเทียม พริกแห้ง เป็นถุง พร้อมสำทับว่า "ที่วัดคงมีครกหละเนาะ เอาไปเฮ็ดเองเด้อ"
ฮ่วย!!!...
แต่ท้ายสุด คงไม่มีใครเก๋เท่าวัยรุ่นไทยยุคเพลงอีโมฯ (มันคือเพลงแบบไหนวะ เข้าใจว่า
เป็นเพลงร้องยานๆ แบบพี่แบ๊งก์วงแคลช นั่นอะ) ที่สรรหาวิธีการมาใส่บาตรได้จ๊าบ
กระชากใจจริงๆ
พวกน้องๆ เค้าใส่บาตรด้วยน้ำมันเครื่ิองครับ!
วิธีการคือพอพระบิณฑบาตร เดินออกมานอกประตูวัด พวกน้องเค้าก็รออยู่ตรงทางแยกหน้าวัด
พอพระ-เณร เดินมาใกล้ๆ เขาก็ "แบ๊นๆๆๆๆๆๆ แหบนนนนนนนนนนนนนนนนน" เบิ้ลเครื่องระรัว
ปลดปล่อยไอเสียออกมา ก่อนกระชากตัวซิ่งหายลับสายตาขบวนบุญของบรรพชิตทั้งหลายไป ด้วยความที่เป็นพระไม่สามารถด่าแช่งใครได้ ถึงจะเจอเรื่องทุเรศเหลืออดแบบนี้ สิ่งที่พระทำได้คือ
"จำเริญๆ เด้อโยม"
ใช่ครับ เจริญพรไล่หลังน้องๆ อีโมฯ พวกนั้นไป
แต่ปกติเด็กพวกนี้ ไม่ได้มา แบ๊นๆ กันทุกวันหรอกครับ มันมีเหตุอยู่นิดนึงคือ พอขากลับเข้าวัด
ก็มีคันหลังสุดมารอส่งท้าย เณรที่บวชมาก่อนผมวันนึง ก็เดินเร่งมากระซิบข้างๆ ผมว่า "ครูบา
ไอ้พวกนั้นมันเป็นเพื่อนเณรเองหละ" ...แหม่เณร ดีนะมันไม่ไปเบิ้ลใส่บาตรกันหน้าหอฉันเลย
- -"
สาธุ...
***********************************************
ก่อนจากขอแนะนำวิธีการใ่สบาตรแบบคนที่ผ่านวัดวามาหน่อยแล้วกันครับ
- ใส่แค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ครับ อย่าง ข้าว กับข้าว น้ำดื่ม ขนมหวาน อย่างเดียวก็ได้
ไม่ผิดกฏ จำนวนไม่ต้องมากครับ คนละครึ่งทัพพี สี่สิบคนก็ยี่สิบทัพพีแล้วครับ ไอ้ประเภท
มาแบบคอมโบเซ็ทชุดประหยัดเนี่ย สงสารเด็กวัดบ้างก็ดีครับ หิ้วกันพะรุงพะรัง
เป็นลิงกินโต๊ะจีนเลย
- ของบางอย่างเราควรเปลี่ยนสภาพมันไม่ให้เหมือนรูปเดิมครับ เช่นไข่ ถ้าจะใส่บาตร
เป็นไข่ต้ม ควรแกะเปลือกออกให้เห็นเนื้อใน ผ่าให้รู้ว่าไข่สุกแล้วยิ่งดีครับ
ผลไม้ต้องทำให้มันเจริญเติบโตต่อไปไม่ได้อีก เช่น ควักเมล็ดออก หรือแทงเมล็ด
ให้แตก ของบางอย่างเช่นกล้วย ให้เฉือนปลายหัวท้ายออกก่อนใส่บาตร
เพราะพระฉันสิ่งที่ยังเจริญเติบโตต่อไป เช่น ลูกไม้ทั้งลูก เมล็ดพืชไม่กระเทาะเปลือก
ไม่ได้ครับ
- อ้อที่สำคัญ วัดมีโรงครัวเป็นโรงทานครับ ไม่ใช่โรงครัวทำกับข้าวให้พระฉัน
ของดิบอย่างที่เล่าไว้ข้างต้นไม่ต้องใส่มานะครับ พระทำกินเองไม่ได้ - -"
คราวนี้ มาเล่าเรื่องเครื่องแต่งกาย ที่กว่าจะแต่งเป็น เล่นเอาพระใหม่แทบอยากสึกครับ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น